Background

เกี่ยวกับโครงการ

โครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตระบบกักเก็บ พลังงานประเภทแบตเตอรี่

จากข้อเสนอแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงานระยะแรก (พ.ศ. 2561 - 2565) ที่ประกอบด้วย

ประเด็นการปฏิรูปที่สำคัญ 6 ด้าน (17 ประเด็นปฏิรูป) โดยในประเด็นปฏิรูป ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และ โครงสร้างพื้นฐาน มีการกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าให้ ชัดเจน รองรับการใช้งานที่ เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเล็งเห็นว่าระบบกักเก็บพลังงานจะเป็นอุตสาหกรรม สนับสนุนการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญ เนื่องจากมีมูลค่ากว่า 1 ใน 3 ของมูลค่ายานยนต์ไฟฟ้า อีกทั้ง อุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานยังจัดเป็นอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Industry) ที่ใช้เป็น ส่วนประกอบพื้นฐานในผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมต่างๆ อีกมากมาย เป็นอุตสาหกรรม New S-Curve ที่ กำลังเติบโต นอกจากนี้ ระบบกักเก็บพลังงานยังสามารถ นำมาใช้ในระบบโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ ทำให้เกิดประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการจัดการระบบไฟฟ้าของประเทศ โดยหากประเทศไทย สามารถเป็นแหล่งผลิตระบบกักเก็บพลังงานได้เอง ก็จะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตได้ โดยอุตสาหกรรมการผลิตระบบกักเก็บ พลังงานจะเป็น อุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่สร้างฐานรายได้ใหม่ให้กับประเทศตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ

ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการของประเทศไทยในด้านการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานสามารถ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดังกล่าวและมีความชัดเจน คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้าน พลังงานจึงเสนอประเด็นปฏิรูป ประเด็นที่ 17 การส่งเสริมเทคโนโลยีระบบการกักเก็บพลังงาน เพื่อให้ ประเทศไทยมีทิศทางและสามารถส่งเสริมการลงทุน อุตสาหกรรมการผลิตระบบกักเก็บพลังงาน และ อุตสาหกรรมต่อเนื่อง อย่างเป็นรูปธรรม เหมาะสม และเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด รวมถึงมีการพัฒนา เทคโนโลยี และการนำเอาระบบกักเก็บพลังงานมาใช้พัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

แผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ประเด็นที่ 17

การส่งเสริมเทคโนโลยีระบบการกักเก็บพลังงาน ได้มีข้อเสนอแนวทางดำเนินการปฏิรูป ดังนี้

image

คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมครั้งที่ 2/2562 (ครั้งที่ 149) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562

ได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมเทคโนโลยีระบบการกักเก็บพลังงาน และออกคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 โดยมีองค์ประกอบประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ผู้แทน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และฝ่ายวิชาการ เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ และมีอำนาจหน้าที่ในการศึกษาโอกาสและความเป็นไปได้ในการนำระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS) ประเภทแบตเตอรี่ (Battery) มาใช้ในประเทศและเป็นโอกาสในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอนาคตของประเทศ กำหนดเป้าหมายและจัดทำ แผนปฏิบัติการส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ ติดตามประเมินผลการส่งเสริม เทคโนโลยีระบบการกักเก็บพลังงาน รายงานต่อ กพช. หรือคณะรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการให้เป็นรูปธรรมต่อไป

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงได้จัดทำโครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ เพื่อใช้ข้อมูลศึกษาโอกาสและความเป็นไป ได้ในการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ และแผนงานเสนอต่อ คณะกรรมการส่งเสริมเทคโนโลยีระบบการกักเก็บพลังงานและ กพช. ในการกำหนดนโยบาย ทิศทาง และ เป้าหมายการลงทุน แนวทางการส่งเสริมและกระตุ้นการลงทุนที่สอดคล้องและเป็นเอกภาพกับภาคเอกชนต่อไป

วัตถุประสงค์

กำหนดทิศทางการส่งเสริมเทคโนโลยี ระบบการกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ที่ชัดเจน

สอดคล้องกับโอกาสและความเป็นไปได้ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตระบบการกักเก็บพลังงาน ประเภทแบตเตอรี่ เพื่อเป็นอุตสาหกรรมอนาคตสร้างฐานรายได้ใหม่ให้กับประเทศ

กำหนดเป้าหมายการพัฒนาและจัดทำแผนปฏิบัติการการส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบกักเก็บ

พลังงานประเภทแบตเตอรี่ ครอบคลุมเรื่องสำคัญ อาทิ การกำหนดมาตรการส่งเสริมการผลิตและการใช้ระบบกักเก็บพลังงาน การกำหนดมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมการนำวิธีการ Reverse Engineering มาใช้ การปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการ

จัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงการวางแผนด้านพลังงาน

ด้แก่ แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า ของประเทศ แผนอนุรักษ์พลังงาน ให้มีการนำระบบกักเก็บพลังงานมาใช้ในระบบโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศในระดับ G-T-D-R